วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2556

การสื่อสารคืออะไร ทำไมเราจึงต้องสื่อสาร


การสื่อสารคืออะไร ทำไมเราจึงต้องสื่อสาร
การสื่อสาร คือ การถ่ายทอดเรื่องราว การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การแสดงออกของความคิดและความรู้สึก รวมไปถึง “ระบบ” (เช่น ระบบโทรทัศน์) เพื่อการติดต่อสื่อสารข้อมูลซึ่งกันและกัน นอกจากนี้ การสื่อสารยังเป็นการที่บุคคลในสังคมมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกันโดยผ่านทางข้อมูลข่าวสาร สัญลักษณ์ และเครื่องหมายต่างๆด้วย

ลักษณะของการสื่อสาร
ในการที่มนุษย์เราจะมีการสื่อสารหรือสื่อความหมายกันนั้น จำเป็นต้องอาศัยวิธีการ รูปแบบและประเภทของการสื่อสารเป็นหลักสำคัญเพื่อช่วยในการติดต่อสื่อสารกัน ดังนั้นเราจึงควรศึกษาถึงลักษณะของการสื่อสารเพื่อให้ใช้ได้อย่างเหมาะสมในแต่ละโอกาส
1.วิธีการการสื่อสาร แบ่งออกได้ 3 วิธี คือ
  1.1 การสื่อสารด้วยวาจา หรือ “วจนภาษา” (Oral Communication) เช่น การพูด การร้องเพลง เป็นต้น
 ภาพ การสื่อสารด้วยวจนภาษา
 1.2 การสื่อสารที่มิใช่วาจา หรือ “อวจนภาษา” (Nonverbal Communication) และการสื่อสารด้วยภาษาเขียน (Written Communication) เช่น การสื่อสารด้วยท่าทาง ภาษามือ และตัวหนังสือ เป็นต้น

 1.3 การสื่อสารด้วยการใช้จักษุสัมผัสหรือการมองเห็น (Visual Communication) เช่น การสื่อสารด้วยภาพ โปสเตอร์ สไลด์ เป็นต้น หรือโดยการใช้สัญลักษณ์และเครื่องหมายต่างๆ เช่น ลูกศรชี้ทางเดิน เป็นต้น


            ภาพ เครื่องหมายจราจร
             2. รูปแบบของการสื่อสาร แบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ คือ
    1. การสื่อสารทางเดียว (One –Way Communication) เป็นการส่งข่าวสารหรือการสื่อความหมายไปยังผู้รับแต่เพียงฝ่ายเดียว โดยที่ผู้รับไม่สามารถมีการตอบสนองในทันที (immediate respone) ให้ผู้ส่งได้ทราบ แต่อาจจะมีปฏิกิริยาสนองกลับ (feedback) ไปยังผู้ส่งภายหลังได้ การสื่อสารในรูปแบบนี้จึงเป็นกรที่ผู้รับไม่สามารถมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันได้ทันที จึงมักเป็นการสื่อสารโดยอาศัยสื่อมวลชน เช่น การฟังวิทยุ หรือการชมโทรทัศน์ เป็นต้น
  
  

ภาพ การสื่อสารทางเดียว  
   2.การสื่อสารสองทาง (Two-Way Communication) เป็นการสื่อสารหรือการสื่อความหมายที่ผู้รับมีโอกาสตอบสนองมายังผู้ส่งได้ในทันที โดยที่ผู้ส่งและผู้รับอาจจะอยู่ต่อหน้ากันหรืออาจอยู่คนละสถานที่ก็ได้ แต่ทั้งสองฝ่ายจะสามารถมีการเจรจาหรือการโต้ตอบกันไปมา โดยที่ต่างฝ่ายต่างผลัดกันทำหน้าที่เป็นทั้งผู้ส่งและผู้รับในเวลาเดียวกัน เช่น การพูดโทรศัพท์ การประชุม เป็นต้น 
  
 

ภาพ การสื่อสารสองทาง
3. ประเภทของการสื่อสาร แบ่งได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้
   3.1 การสื่อสารในตนเอง (Intapersonal or Self-Communication) เป็นการสื่อสารภายในตัวเอง เช่น การอ่านและการเขียนหนังสือ เป็นต้น
   3.2 การสื่อสารระหว่างบุคคล (Intapersonal Communication) เป็นการสื่อสารระหว่างคน2 คน เช่น การสนทนา หรือการโต้ตอบจดหมายระหว่างกัน เป็นต้น
   3.3 การสื่อสารแบบกลุ่มชน (Group Communication) เป็นการสื่อสารระหว่างบุคคลกับกลุ่มคนจำนวนมาก เช่นการสอนในห้องเรียนระหว่างครูคนเดียวกับนักเรียนทั้งห้อง หรือระหว่างกลุ่มชนกับบุคคล เช่น กลุ่มชนมาร่วมกันฟังคำปราศรัยหาเสียงของผู้สมัครเลือกตั้ง เป็นต้น


ภาพ การสื่อสารแบบกลุ่มชน
   3.4 การสื่อสารมวลชน (Mass Communication) เป็นการสื่อสารโดยการอาศัยสื่อมวลชนประเภทวิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ และสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ เช่นนิตยสาร หนังสือพิมพ์ แผ่นพับ แผ่นโปสเตอร์ ฯลฯ เพื่อการติดต่อไปยังผู้รับสารจำนวนมากซึ่งเป็นมวลชนให้ได้รับข้อมูลข่าวสารเดียวกันในเวลาพร้อมๆกัน หรือไล่เลี่ยกัน
องค์ประกอบของการสื่อสาร
                การสื่อสารจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีต้นทางของการถ่ายทอดหรือเรียกว่า “ผู้ส่ง” เป็นผู้ทำการส่งข่าวสารต่างๆ โดยผ่านสื่อไปยังจุดหมายปลายทาง หรือเรียกว่า “ผู้รับ” ได้รับข่าวสารนั้นร่วมกัน จากหลักการนี้จึงต้องมีองค์ประกอบต่างๆ เพื่อให้การสื่อสารเกิดขึ้นได้ดังนี้
                1. ผู้ส่ง (Sender) อาจเป็นเพียง 1 คน หรือกลุ่มคนก็ได้ ซึ่งเป็นผู้นำเรื่องราวข่าวสาร เพื่อส่งไปยังผู้รับ โดยวิธีการใดวิธีการหนึ่งในการเข้ารหัสเพื่อให้ผู้รับเข้าใจ การกระทำดังกล่าวเรียกว่า “การเข้ารหัส” (encode) เป็นภาษาพูด ภาษาเขียน ภาษามือ รูปภาพ สัญลักษณ์ เป็นต้น
2. เนื้อหาเรื่องราว (Massage) เป็นเนื้อหาของสารหรือสาระของเรื่องราวที่ส่งออกมา เช่นความรู้ ความคิด เป็นต้น เพื่อให้ผู้รับรับข้อมูลเหล่านั้น
3.สื่อหรือช่องทางในการนำสาร (Media or channel) เป็นตัวกลางที่ช่วยถ่ายทอดเหตุการณ์ บทเรียน ที่ผู้ส่งต้องการให้ไปถึงผู้รับ สื่อที่ใช้ในการถ่ายทอดอาจเป็นภาษาพูด ภาษาเขียน ภาษามือ และภาษากายก็ได้ สื่อที่ใช้มากที่สุดคือ “ภาษาพูด” ซึ่งใช้เสียงเป็นสื่อ
4. ผู้รับหรือกลุ่มเป้าหมาย (Receiver or Target Audience) ได้แก่ ผู้รับข่าวสารเรื่องราวต่างๆจากผู้ส่ง เมื่อรับเรื่องราวแล้วผู้รับต้องมี “การถอดรหัส” คือการแปลข่าวสารนั้นให้เข้าใจ             
5. ผล (Effect) ได้แก่ การรับรู้บ่าวสารของผู้รับ ซึ่งผู้รับจะเข้าใจข่าวสารมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับสิ่งที่ใช้ในสถานการณ์และทัศนคติของผู้รับในขณะนั้น
6. ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) เป็นการแสดงกิริยาตอบสนองของผู้รับต่อข้อมูลข่าวสาร เช่น ง่วงนอน ปรบมือ พยักหน้า ส่ายหน้า การพูดโต้ตอบ  หรือการแสดงความคิดเห็น เพื่อให้ผู้ส่งรับรู้การสื่อความหมาย                                                                                                                                                                                                                                                                                                                           
 


ภาพ องค์ประกอบของการสื่อสาร

เปรียบเทียบองค์ประกอบของการสื่อสารกับการเรียนการสอน
องค์ประกอบ
การสื่อสาร
การเรียนการสอน
1.              ผู้ส่ง
ผู้อ่านข่าว นักร้อง นักเขียน     จิตรกร ฯลฯ
ครู วิทยากร ผู้บรรยาย ฯลฯ
2.              เนื้อหา
ข่าว เพลง ภาพ บทความ          บทกลอน คำบรรยาย ฯลฯ
บทเรียน
3.              สื่อ
ภาษาพูด ภาษาเขียน สิ่งพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ ฯลฯ
ภาษาต่างๆ ตำราเรียน วิทยุ ภาพยนตร์ โทรทัศน์ ฯลฯ
4.              ผู้รับ
ผู้ชม ผู้ฟัง บุคคล กลุ่มชน ฯลฯ
ผู้เรียน ผู้รับการอบรม ฯลฯ
5.              ผล
ความเข้าใจ ไม่เข้าใจ พอใจ        ไม่พอใจ ฯลฯ
ความเข้าใจหรือไม่เข้าใจในบทเรียนนั้น
6.              ข้อมูลย้อนกลับ
ยิ้ม ปรบมือ หาว ง่วงนอน       พยักหน้า ตอบคำถาม ฯลฯ
ยิ้ม ปรบมือ หาว ง่วงนอน พยักหน้า ตอบคำถาม ฯลฯ


การเรียนการสอนเกี่ยวข้องกับการสื่อสารอย่างไร
การเรียนการสอน เป็นการถ่ายทอดเนื้อหาบทเรียนจากผู้สอนไปยังผู้เรียน การเรียนการสอนย่อมต้องอาศัยการสื่อสารเป็นหลักสำคัญในการดำเนินการ ไม่ว่าจะเป็นด้านผู้ส่งและผู้รับตามหลักการ เพื่อทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจ ในบทเรียนและการตอบสนองเพื่อการเรียนรู้ ดังนั้นการเรียนการสอนจำเป้นต้องใช้การสื่อสาร เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน

 อุปสรรคของการสื่อสารมีอะไรบ้าง
      บางครั้งการสื่อสารหรือการสื่อความหมายและการเรียนรู้อาจจะไม่ได้ผลตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ อาจเป็นเพราะเกิดอุปสรรคระหว่างผู้ส่งและผู้รับ หรือผู้สอนหรือผู้เรียนในด้านต่างๆ เช่น
1.             คำพูด (Verbalism) ลักษณะการใช้ภาษาหรือคำพูดในการสื่อความหมายอาจจะยาวเกินไปทำให้ผู้รับไม่เข้าใจ
2.             ฝันกลางวัน (Day dreaming) ผู้รับมีจิตใจเลื่อนลอย ไม่มีสมาธิในการรับรู้ทำให้ไม่เข้าใจความหมายที่ส่งมา
3.             ข้ออ้างถึงที่ขัดแย้ง (Referent confusion) ข่าวสารหรือบทเรียนที่ส่งมานั้นมีความขัดแย้งกับประสบการณ์เดิมของผู้รับ  ทำให้ผู้รับเกิดความขัดแย้งไม่เข้าใจได้
4.             การรับรู้ที่จำกัด (Limited perception) ผู้รับอาจมีขีดจำกัดของการรับรู้ที่เกี่ยวกับประสาทสัมผัสเฉพาะของแต่ละคน เช่น สายตาสั้น หูพิการ เป็นต้น
5.             สภาพแวดล้อมทางกายภาพ (Physical discomfort) ลักษณะสภาพแวดล้อมทางกายภาพต่างๆ ไม่เอื้ออำนวยในการสื่อสารหรือการเรียนรู้ เช่น ห้องเรียนร้อนอบอ้าวหรือมีเสียงดังรบกวนเกินไป เป็นต้น
6.             การไม่ยอมรับ (Imperception) ผู้ส่งอาจไม่เป็นที่ยอมรับของผู้รับมาให้ผู้รับเกิดการต่อต้านหรือไม่สนใจที่จะรับข้อมูลที่ส่งมา







ขอขอบคุณข้อมูลจาก
  
หนังสือเทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม